วิจัย

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย

วิจัย การพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย สถิตย์ ศรีถาวร
ความสำคัญและความเป็นมา

                 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับอนุบาลศึกษายังไม่บรรลุผลเท่าที่ควร เนื่องจากครูผู้สอนไม่ได้สำเร็จการศึกษาในสาขาอนุบาลหรือสาขาปฐมวัยโดยตรง และไม่ตรงกับแผนการจัดประสบการณ์ระดับอนุบาล  ถึงแม้ว่าครูบางส่วนจะผ่านการอบรมมาแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการอบรมในระยะสั้น และการอบรมก็ไม่ได้ทำแบบต่อเนื่อง จึงทำให้ครูผู่สอนขาดทักษะ  โดยเฉพาะในการสอนกิจกรรมเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ให้แก่เด็กครูที่สอนจึงมองข้ามความสำคัญในการที่จะสอนให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่างๆจากการเรียนเกมการศึกษา ครูส่วนใหญ่มักปล่อยให้เด็กเล่นเกมการศึกษษเอง เด็กจึงพลาดโอกาสสำคัญในการพัฒนาตนเอง และยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการของเด็กที่จะเรียนต่อในระดับชั้นประถมศึกษาในอนาคต ในหน่อยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ เช่น การใช้แว่นขยายการมองเห็นภาพต่างๆ จากเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับอนุบาลใช้เป็นพื้นฐานความรู้ที่สำคัญและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การสังเกตการจำแนกประเภท การวัด การสื่อความหมาย เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าหน่อยวิทยาศาตร์น่ารู้เป็นหน่อยการเรียนที่มีปัญหาในด้านการสื่อสาร ครูจึงต้องหาวิธีการสอนที่เหมาะสม ถ้าครูสอนโดยการบรรยายและใช้แบบฝึกหัดจะทำให้เด็กเข้าใจยาก  ควรให้เด็กได้เรียนรู้จิงหรือจากอุปกรณ์ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปธรรมและนำไปสู่นามธรรมในภายหลัง และการเรียนรู้จะเกิดผลดี เทคนิคการสอนของครูจะเป็นเครื่องส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าใจ สนุกสนานเพลิดเพลิน และมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ คือการสอนโดยใช้ชุดการสอน เพราะชุดการสอนใช้สื่อประสมที่ได้จากกระบวนการผลิตสื่อ และนำสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวิชา หน่วย หัวเรื่อง และวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละหน่อยในชุดการสอนแบ่งเป็นหน่วยการเรียนซึ่งจะจัดไว้เป็นชุด โดยมีคู่มือการใช้ ประกอบด้วยรายละเอียดและคำแนะนำต่างๆ ชุดการสอนจะช่วยถ่ายทอดเนื้อหา เร้าความสนใจของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น ช่วยสร้างความพร้อมความมั่นใจให้แก่ครูผู้สอน ผู้เรียนมีอิสรภาพในการเรียนและครูสามารถสอนแทนกันได้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มโรงเรียนหนองแวง สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเกษตรวิสัย สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2542 จำนวน 10 โรงเรียน 12 ห้องเรียน รวมนักเรียน 266 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองช้าง กลุ่มโรงเรียนหนองแวง สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเกษตรวิสัย สำนักงานประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2542 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียน 25 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษษค้นคว้า
1.ชุดการสอนหน่อวยวิทยาศาสตร์น่ารู้ สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น 5 ชุด ใช้เวลา 10 คาบ
2.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่อยวิทยาศษสตร์น่ารู้ สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ผู้ศึกษษสร้างขึ้นมีจำนวน 30 ข้อ เป็นแบบปรนัยเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก และแบบฝึกหัดแต่ละชุดการสอนจำนวน 5 ชุดๆละ 15 ข้อ เป็นแบบปรนัยเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก
วิธีดำเนินการทดลอง
1.ทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของนักเรียน โดนทดสอบก่อนที่จะทำการสอนในคาบเรียนแรก ซึ่งผู้ศึกษษค้นคว้าเป็นผู้อ่านคำสั่งและคำถามของแบบทดสอบให้กับนักเรียน
2.ดำเนินการสอน โดยใช้ชุดการสอนหน่อยวิทยาศาสตร์น่ารู้ สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 5 เรื่อง ใช้เวลา 10 คาบ คาบละ 20 นาที แบ่งเป็น 5 แผนการสอนใช้เวลาสอนแผนละ 40 นาที ในแผนการสอนแต่ละเรื่องจะแบบฝึกหัดให้ทำประกอบ โดยผู้ศึกษาค้นคว้าเป็นผู้อ่านคำสั่งและคำถามแบบฝึกหัดให้กับผู้เรียน
3.ทดสอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบชุดเดิมที่ใช้ทดสอบก่อนเรียนมาทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าเป็นผู้อ่านคำสั่งและคำถามของแบบทดสอบให้กับผู้เรียน
การวิเคราะห์ข้อมูล
1.หาประสิทธิภาพของชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80
2.หาความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t – test ( Depenclent Samples )
3.หาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาลปีที่ 2
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
1.ชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประสิทธิภาพ 82.35/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้

2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดการสอน หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น