วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 30 กันยายน 2557
กิจกรรมที่ 1 กังหันกระดาษ
แถวที่ 1-2
แถวที่ 4-5
อุปกรณ์
1.กระดาษหน้าปก
2.คลิปหนีบกระดาษ
3.กรรไกร
วิธีทำ
1.ตัดกระดาษ ความยาว 14เซนติเมตร ความกว้าง 3.5 เซนติเมตร
2.พับกระดาษแบ่งครึ่ง แล้วตัดกระดาษเข้าหารอยตรงกลาง
โดตตัดจากหัวกระดาษตรงกลาง (หรือตัดตามความต้องการ)
3.พับส่วนปลายอีกด้านเข้ามาสัก 1 เซนติเมตร ( หรือพับตามความต้องการ )
แล้วใส่คลิปหนีบกระดาษ
การทดลอง
อาจารย์ให้ออกมาทำอะไรก็ได้กับกระดาษ
แต่ละคนจะออกมาโยนกระดาษที่แตกต่างกัน
การตัดกระดาษนั้นแถวที่ 1-2 ตัดเหมือนกัน แถวที่ 3-4
จะตัดกระดาษไม่ถึงตรงกลางรอยพับ
ผลการทดลอง
จากการทดลองการที่กระดาษตกลงพื้นไม่เหมือนกันนั้น
ก็เพราะว่ามีการตัดกระดาษที่ไม่เท่ากัน การโดยก็ไม่เหมือนกัน
แถวที่ตัดกระดาษยาวจะมีการหมุนคล้ายลูกยาง แถวที่ตัดกระดาษน้อยจะไม่ค่อยหมุน
จะตกลงพื้นเร็วกว่า ปัจจัยที่กังหันกระดาษมีการหมุนแตกต่างกัน ดังนี้
1.ลักษณะการโยน
2.การออกแรงโยน
3.สภาพอากาศ
4.การตัดกระดาษที่แตกต่างกัน
5.มีการพบปลายกระดาษด้านล่างที่ไม่เท่ากัน
อุปกรณ์
1.แกนทิชชู
2.เชือก
3.กรรไกร
4.กระดาษ
5.กาว
6.สี
7.ที่เจาะรู ( ตุ๊ดตู่ )
วิธีทำ
1.ตัดครึ่งแกนทิชชู บีบแกนเจาะรูตรงกลางกระดาษ ทั้งสองฝั่ง
2.นำเชือกมาร้อยให้ได้ตามภาพ
3.ตัดกระดาษเป็นวงกลมขนาดแกนทิชชู วาดรูปตกแต่งให้สวยงาม และนำมาติด
การทดลอง
การทดลองนี้อาจารย์ให้ลองเล่นเองว่าทำยังไงจะให้กระดาษเลื่อนขึ้น
เด็กก็จะเกิดการแก้ปัญหาว่าทำยังไงแกนทิชชูถึงจะเลื่อน บางคนก็ไม่ขึ้น
บางคนก็เลื่อนขึ้นและก็ลง เกิดการทดลองที่แตกต่างกัน
*การที่แกนเลื่อนนั้นเกิดจากการเสียดสีระหว่างเชือกกับวัตถุ
จึงเกิดแรงส่ง
บทความ
1.สกิตให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์ คลิกที่นี้ อ่านเพิ่มเติม
2.สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชาตามเด็กปฐมวัยเรียนรู้วิทย์จากไก่และเป็ด คลิกที่นี้ อ่านเพิ่มเติม
4.หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ คลิกที่นี้ อ่านเพิ่มเติม
5.ส่งเสริมกระบวนการคิดวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย คลิกที่นี้ อ่านเพิ่มเติม
เทคนิคการสอน
อาจารย์ให้เด็กได้คิดเองอย่างอิสระ ในการทดลองเอง
และมีการลงมือปฏิบัติทำของทดลองด้วยตัวเอง เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า เด็กเกิดคำถาม
เกิดการคิดต่างๆ และเกิดการแก้ปัญหาจากผลการทองลองที่ออกมาแตกต่างกัน
การที่ครูปล่อยให้เด็กได้คิดเอง เด็กก็เกิดการค้นพบจากการทดลองต่างๆ
ครูพยายามถามเด็กอยู่ตลอดเวลาขณะที่ทำกิจกรรม
ครูจะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กเกิดการคิด
เกิดทักษะกระบวนการและได้รู้จักหาเหตุผล
ประเมินตนเอง
มีความพร้อมในการเรียน มีการแต่งกายเรียบร้อย
ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ มีการตอบคำถามถึงแม้จะตอบไม่ถูก
ประเมินเพื่อน
เพื่อนมาเรียนน้อย
คนที่มาก็มีความพร้อมในการเรียนและการทำกิจกรรม
แต่บางคนก็ไม่ค่อยฟังอาจารย์ว่าสั่งให้ทำอะไร การที่ไม่ฟังจึงทำให้งานที่อาจารย์บอกให้ทำออกมาผิด
เสียเวลาในการทำกิจกรรมของเพื่อนคนอื่น
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการสอนดีมาก
มีเทคนิคที่ดีในการสอน ให้นักศึกษารู้จักทดลองเอง
อาจารย์อธิบายเนื้อหาต่างๆได้อย่างชัดเจน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น