บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 16

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 2 ธันวาคม 2557 
กิจกรรมวันนี้.อาจารย์ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครูออกมานำเสนอ

1.ความแข็งของวัตถุ ดูวีดีโอ คลิกที่นี้ 
2.วิจัยการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้  อ่านวิจัย คลิกที่นี้ 
3.วิจัย การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โครงการจัดประสบการณ์แบบโครงการอ่านวิจัย คลิกที่นี้ 
4.วิจัยการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกหัด อ่านวิจัย คลิกที่นี้
อาจารย์ให้เข้ากลุ่มที่ทำแผนการสอน ให้ออกแบบสารสัมพันธ์ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองรู้ว่าโรงเรียนกำลังสอนเรื่องอะไร ผู้ปกครองจะได้สอนลูกมาจากที่บ้านก่อนแล้วเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเรียนให้กับตัวเด็ก
สารสัมพันธ์หน่วยกบ

ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียนร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ ขณะที่อาจารย์สอนหรือให้คำแนะนำก็ตั้งใจฟัง และมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น
ประเมินเพื่อน
เพื่อนบางคนแต่งกายไม่ถูกระเบียบตามที่ตกลงกันว่าจะใส่ชุดพละมาเรียน มีคนใส่ชุดนักศึกษามาเรียน วันนี้คุยกันเสียงดังนิดหน่อย แต่ขณะที่อาจารย์ให้เข้ากลุ่มทำงานทุกคนก็มีส่วนร่วมดี ให้ความสนใจกับงานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลาดี ให้ความรู้และเทคนิคต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้อย่างแท้จริง สมกับเป็นครูและเป็นที่รักของนักศึกษาหลายๆคน


บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 25 พฤศจิกายน 2557 
กิจกรรมวันนี้
1.อาจารย์ได้พูดคุยเกี่ยวกับแผนการสอนว่า การเขียนแผนพบปัญหาอะไรบ้าง อาจารย์จะให้คำแนะนำต่างๆในการเขียนแผนดังนี้
-เขียนไม่เรียงตามลำดับ ควรจะเขียนใส่กระดาษเปล่าก่อน แล้วจึงเขียนใส่แผ่นจริง
-Mind Map ควรแตกหัวข้อที่สำคัญลงไปก่อน แล้วจึงค่อยใส่รายละเอียดต่างๆลงไป
-การเรียงลำดับในการสอน  ควรจะจัดระบบในการสอนเพื่อให้เด็กรับรู้ได้อย่างเข้าใจและชัดเจน ดังนั้นควรเรียงจาก นามธรรมไปเป็นรูปธรรม
2.อาจารย์ให้นำสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ได้นำเสนอไป นำมาจัดหมวดหมู่ว่าอยู่ในหมวดใด เช่น แสง อากาศ น้ำ เสียง จุดสมดุล  สื่อของดิฉันจัดอยู่ในหมวด จุดสมดุล



หลักการทางวิทยาศาสตร์
จุดศูนย์กลางมวลของวัตถุ (C.M) คือ ตำแหน่งที่มวลรวมของวัตถุอยู่ซึ่งจุดนี้อาจจะอยู่ในหรือนอกวัตถุก็ได้
จุดศูนย์ถ่วงของวัตถุ (C.G) คือ ตำแหน่งที่น้ำหนักรวมของวัตถุอยู่ ซึ่งจุดนี้ อาจจะอยู่ในหรือนอกวัตถุก็ได้
ทักษะที่ได้
-การนำของเหลือใช้มาดัดแปลงทำให้เกิดประโยชน์
-การรู้จักคิดอย่างมีเหตุ และผล
-การดัดแปลงสิ่งใหม่ๆให้น่าสนจมากขึ้น
3.อาจารย์ให้คนที่ได้ไปศึกษาโทรทัศน์ครูและงานวิจัยออกมานำเสนอสิ่งที่ได้รับ

1.ไฟฟ้าและพันธ์พืช วิดีโอ คลิกที่นี้
2.การทดลองการละลายของสาร  วิดีโอ คลิกที่นี้
3.วิจัย กระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
4.เสียงมาจากไหน วิดีโอ คลิกที่นี้
5.วิจัยการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ
6.วิจัย ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 

4.อาจารย์ให้นักศึกษาทำไอติมหวานเย็น
อุปกรณ์
-น้ำแดงเฮลซ์บลูบอย
-น้ำเปล่า
-เกลือเมล็ด
-น้ำแข็ง
-กรวย
-ถุง
-หนังยาง
-กระชอน
-ถ้วยสำหรับผสมน้ำแดง
-หม้อ



วิธีทำ
1.นำน้ำแดงผสมกับน้ำเปล่าในสัดส่วนที่พอดี


2.ตักน้ำหวานที่ผสมแล้วใส่ถุง


3.มัดให้แน่น

4.เอาใส่หม้อที่เตรียมไว้แล้วเอาน้ำแข็งใส่

5.เอาเกลือเมล็ดใส่ทับน้ำแข็ง

6.เอาน้ำแข็งใส่อีกรอบ

7.ปิดฝาแล้วแล้วหมุนหม้อให้เกลือกับน้ำแข็งผสมกันก็จะได้ไอติมน้ำแดง

การเปลี่ยนแปลง
กิจกรรมการทดลองการเปลี่ยนสถานะของน้ำจากของเหลวเป็นของแข็ง โดยการใส่เกลือผสมน้ำแข็ง และเขย่าหรือหมุนหม้อให้น้ำแข็งกับเกลือผสมกัน ผลจะปรากฏว่าน้ำแข็งมีอุณหภูมิลดต่ำลงหรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง  เพราะเกลือจะไปดูดความร้อนจากน้ำแข็งเพื่อให้ตัวมันละลาย เมื่อน้ำแข็งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งก็จะส่งให้น้ำในถุง ที่ผสมน้ำแข็งกับเกลือเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง

เทคนิคในการสอน
อาจารย์จะใช้คำถามปลายเปิดในการถามเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด เกิดทักษะต่างๆในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆได้  อาจารย์ยังค่อยให้คำแนะนำและเทคนิคต่างๆในการสอนและจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยและสิ่งที่เด็กจะได้จากการเรียนรู้อย่างแท้จริง

ประเมินตนเอง
แต่งกายได้เรียบร้อย เข้าเรียนก่อนเวลาที่จะเรียน มีความพร้อมในการเรียนตั้งแต่เช้า ขณะที่อาจารย์ถามก็พยายามที่จะตอบบ้างครั้งอาจจะตอบผิดบ้าง แต่ก็มีความพยายาม มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีการจดบันทึกกับสิ่งที่เพื่อนได้นำเสนอไป
ประเมินเพื่อน
ทุกคนมาเรียนตรงต่อเวลาดี มีแค่ไม่กี่คนที่จะมาสายเป็นประจำอยู่แล้ว ขณะที่อาจารย์สอนทุกคนก็ตั้งใจฟัง มีการจดสิ่งที่อาจารย์สอน การทำกิจกรรมในห้องทุกคนก็ตื่นเต้นและให้ความสนใจดีมาก
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลาเสมอ สอนทุกครั้งจะใช้คำถามให้นักศึกษาได้คิด เกิดการตื่นตัวในสิ่งที่อาจารย์จะถาม อาจารย์จะมีคำแนะนำที่ดีอยู่ตลอดเวลา ไม่เข้าใจอะไรอาจารย์ก็จะสอนเสริมให้ตลอด เพื่อที่เรียนต่อไปวิชาอื่นจะได้เข้าใจมากขึ้น 

บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 14

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 18 พฤศจิกายน 2557 
 กิจกรรมวันนี้
อาจารย์ให้ทำขนมวาฟเฟิล โดยมีขั้นตอนและวิธีการทำดังนี้

วัตถุดิบและอุปกรณ์

1.แป้ววาฟเฟิล

  

2.เนย


3.ชีท


4.ไข่ไก่


5.นมและน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว


6.เครื่องทำวาฟเฟิล


7.ที่ตีแป้ง แปรงทาเนย ที่ตักแป้ง ถ้วย


8.แก้ว


9.ถ้วยใบเล็ก


ขั้นตอนการทำ
1.เทนมที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในแป้ง


2.ตีนมกับแป้งให้เข้ากัน


3.เมื่อเข้ากันแล้วก็ใส่ไข่ลงไป


4.ผสมน้ำเล็กน้อยไม่ให้เหลวเกินไป


5.ใส่ชีทที่ตัดไว้


6.เมื่อผสมทุกอย่างให้เข้ากันหมดแล้ว ก็ตักแป้งใส่ถ้วยเล็กที่เตรียมไว้


7.นำเนยมาทาที่เครื่องทำวาฟเฟิล


8.เมื่อเครื่องร้อนก็ใส่แป้งลงไป ปิดฝาไว้ 3-4 นาที


9.ได้วาฟเฟิลจากการลงมือทำของเด็กๆ


กิจกรรมเพิ่มเติม การแก้ไขแผนการสอน
1.หน่วยดิน
เพลง ชนิดของดิน
ดิน ดิน ดิน
ดินมีหลายชนิด
ดินร่วน ดินเหนียว ดินทราย ( ซ้ำ )
เด็กๆลองทายมีดินอะไร


2.หน่วยสับปะรด


กิจกรรมความรู้เพิ่มเติมจาก โทรทัศน์ครูที่เพื่อนออกมานำเสนอ
เรื่อง  ของเล่นและของใช้    ดูวีดีโอ

ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ พยายามคิดว่าเราควรจะสอนเด็กยังไงเวลาทำขนมไม่ให้วุ่นวาย
ประเมินเพื่อน
ทุกคนตั้งใจทำขนมกัน มีความสุข สนุกกับการทำขนมกันมาก
ประเมินอาจารย์
อาจารย์อารมณ์ดี สอนสนุก ให้เทคนิคในการบอกเด็กเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายในขณะทำกิจกรรม













สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่อง เรียนวิทย์ผ่านขนม      ดูวีดีโอ คลิกที่นี้
อ.นิตยา คงพันธุ์


      การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ในเรื่อง "สารและสมบัติของสาร การทำขนมคือการใช้สมบัติของสารต่างๆ เด็กๆจะเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆของสถานะของขนมผ่านขั้นตอนและกระบวนการทำขนม ตั้งแต่วัตถุดิบที่นำมาทำ จนกลายเป็นขนมซึ่งเปลี่ยนสถานะมาเป็นของแข็ง                           
     การที่ทำขนมไม่ใช่เพียงแต่รู้ขั้นตอนแต่เราควรดุหลักการทางวิทยาศาสตร์ด้วย เช่นสถานะของแข็ง มีแป้ง น้ำตาล ส่วนผสมที่เป็นของเหลว เช่น ไข่เป็ด เวลานำไข่มาผสมกับแป้ง น้ำตาล ก็จะได้สถานะเป็นของเหลว
    สารและสมบัติของสารเด็กจะต้องเรียนรู้ด้วยการทดลองเพื่อให้เห็นผล เด็กจะได้เรียนรู้จากชุมชนได้เรียนรู้ทุกๆอย่างไปพร้อมกันแบบองค์รวม ได้กระบวนการในการเรียนรู้ครบถ้วน ตั้งแต่สืบค้น สำรวจตรวจสอบ ทดลอง เด็กจะได้ประยุกต์ความรู้ของเขาอีกด้วย การได้เปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนรู้ การถูกกระตุ้นด้วยคำถาม เด็กจะได้เรียนรู้มากขึ้นจากสิ่งที่เรียนมา                                

วิจัย

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย

วิจัย การพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย สถิตย์ ศรีถาวร
ความสำคัญและความเป็นมา

                 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับอนุบาลศึกษายังไม่บรรลุผลเท่าที่ควร เนื่องจากครูผู้สอนไม่ได้สำเร็จการศึกษาในสาขาอนุบาลหรือสาขาปฐมวัยโดยตรง และไม่ตรงกับแผนการจัดประสบการณ์ระดับอนุบาล  ถึงแม้ว่าครูบางส่วนจะผ่านการอบรมมาแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการอบรมในระยะสั้น และการอบรมก็ไม่ได้ทำแบบต่อเนื่อง จึงทำให้ครูผู่สอนขาดทักษะ  โดยเฉพาะในการสอนกิจกรรมเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ให้แก่เด็กครูที่สอนจึงมองข้ามความสำคัญในการที่จะสอนให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่างๆจากการเรียนเกมการศึกษา ครูส่วนใหญ่มักปล่อยให้เด็กเล่นเกมการศึกษษเอง เด็กจึงพลาดโอกาสสำคัญในการพัฒนาตนเอง และยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการของเด็กที่จะเรียนต่อในระดับชั้นประถมศึกษาในอนาคต ในหน่อยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ เช่น การใช้แว่นขยายการมองเห็นภาพต่างๆ จากเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับอนุบาลใช้เป็นพื้นฐานความรู้ที่สำคัญและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การสังเกตการจำแนกประเภท การวัด การสื่อความหมาย เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าหน่อยวิทยาศาตร์น่ารู้เป็นหน่อยการเรียนที่มีปัญหาในด้านการสื่อสาร ครูจึงต้องหาวิธีการสอนที่เหมาะสม ถ้าครูสอนโดยการบรรยายและใช้แบบฝึกหัดจะทำให้เด็กเข้าใจยาก  ควรให้เด็กได้เรียนรู้จิงหรือจากอุปกรณ์ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปธรรมและนำไปสู่นามธรรมในภายหลัง และการเรียนรู้จะเกิดผลดี เทคนิคการสอนของครูจะเป็นเครื่องส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าใจ สนุกสนานเพลิดเพลิน และมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ คือการสอนโดยใช้ชุดการสอน เพราะชุดการสอนใช้สื่อประสมที่ได้จากกระบวนการผลิตสื่อ และนำสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวิชา หน่วย หัวเรื่อง และวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละหน่อยในชุดการสอนแบ่งเป็นหน่วยการเรียนซึ่งจะจัดไว้เป็นชุด โดยมีคู่มือการใช้ ประกอบด้วยรายละเอียดและคำแนะนำต่างๆ ชุดการสอนจะช่วยถ่ายทอดเนื้อหา เร้าความสนใจของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น ช่วยสร้างความพร้อมความมั่นใจให้แก่ครูผู้สอน ผู้เรียนมีอิสรภาพในการเรียนและครูสามารถสอนแทนกันได้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มโรงเรียนหนองแวง สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเกษตรวิสัย สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2542 จำนวน 10 โรงเรียน 12 ห้องเรียน รวมนักเรียน 266 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองช้าง กลุ่มโรงเรียนหนองแวง สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเกษตรวิสัย สำนักงานประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2542 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียน 25 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษษค้นคว้า
1.ชุดการสอนหน่อวยวิทยาศาสตร์น่ารู้ สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น 5 ชุด ใช้เวลา 10 คาบ
2.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่อยวิทยาศษสตร์น่ารู้ สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ผู้ศึกษษสร้างขึ้นมีจำนวน 30 ข้อ เป็นแบบปรนัยเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก และแบบฝึกหัดแต่ละชุดการสอนจำนวน 5 ชุดๆละ 15 ข้อ เป็นแบบปรนัยเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก
วิธีดำเนินการทดลอง
1.ทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของนักเรียน โดนทดสอบก่อนที่จะทำการสอนในคาบเรียนแรก ซึ่งผู้ศึกษษค้นคว้าเป็นผู้อ่านคำสั่งและคำถามของแบบทดสอบให้กับนักเรียน
2.ดำเนินการสอน โดยใช้ชุดการสอนหน่อยวิทยาศาสตร์น่ารู้ สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 5 เรื่อง ใช้เวลา 10 คาบ คาบละ 20 นาที แบ่งเป็น 5 แผนการสอนใช้เวลาสอนแผนละ 40 นาที ในแผนการสอนแต่ละเรื่องจะแบบฝึกหัดให้ทำประกอบ โดยผู้ศึกษาค้นคว้าเป็นผู้อ่านคำสั่งและคำถามแบบฝึกหัดให้กับผู้เรียน
3.ทดสอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบชุดเดิมที่ใช้ทดสอบก่อนเรียนมาทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าเป็นผู้อ่านคำสั่งและคำถามของแบบทดสอบให้กับผู้เรียน
การวิเคราะห์ข้อมูล
1.หาประสิทธิภาพของชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80
2.หาความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t – test ( Depenclent Samples )
3.หาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาลปีที่ 2
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
1.ชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประสิทธิภาพ 82.35/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้

2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดการสอน หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01