วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 2
กันยายน 2557
กิจกรรมวันนี้
*อาจารย์เปิดบล็อกให้ดู
และให้คำแนะนำในการทำบล็อกที่ต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์
*ให้นักศึกษามานำเสนอบทความที่ได้ไปศึกษามา
มาพูดให้เพื่อนฟัง
เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลองสำหรับเด็ก
เรื่องภาระกิจตามหาใบไม้
เรื่องการแยกเมล็ดพืช
เรื่องเจ้าลูกโป่ง
*อาจารย์ได้อธิบาย
คุณลักษณะตามวัยของเด็ก 3-5 ปี
ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546
เด็กอายุ 3 ปี
|
เด็กอายุ 4 ปี
|
เด็กอายุ 5 ปี
|
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนและแตกต่างกัน
-บอกชื่อของตนเองได้
-ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
-สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆได้
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
|
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
-สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคต่อเนื่อง
|
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง
จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
-บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
-พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
-สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้
|
นักการศึกษา / หลักการ แนวคิด
|
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
|
กีเซล
(Gesell ) เชื่อว่า
-พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน
เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
-การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการ
การเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง
เพียเจท์
piaget
-พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กแรกเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก
มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
-พัฒนาการของเด็กปฐมวัย ( 0-6 ปี
)
1.ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว วัย 0-2 ปี
เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
2.ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 – 6 ปี
เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
คิดหาเหตุผลไม่ได้ จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง
สกินเนอร์ (
Skinner )
-ถ้าเด็กได้รับการชมเชยและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมมา
เด็กสนใจที่ทำต่อไป
-เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร
เปสตาลอสซี่
( Pestalozzi )
-ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก
ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
-เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ
ความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
-เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
เฟรอเบล
( Froeble )
-ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการ
กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
-การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
เอลคายน์ (
Elkind )
การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
ดิวอี้
( Dewey ) เชื่อว่า
-เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
|
-จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
-ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
-จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ฝึกการใช้มือและประสาทสัมผัสมือกับตา
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำคล้องจอง
ร้องเพลง ฟังนิทาน
-จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
-จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนก
เปรียบเทียบ
-จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผล เลือกและตัดสินใจสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัวและมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม
-ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย
เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
-ไม่เอาเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
-จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรัก ให้เวลา
และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
-จัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
-จัดบรรยายในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาส
เล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน
เพื่อน ครู
-จัดบรรยากาศในห้องเรียน
ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อนๆ
|
การนำไปประยุกต์ใช้
นำทฤษฏีแต่ละทฤษฏีที่ได้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้การพัฒนามีประสิทธิภาพต่อกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
ประเมินตนเอง
แต่งกายได้เรียบร้อย สวยงามเหมาะสมกับการเป็นนักศึกษา ตั้งใจฟังอาจารย์ให้ความรู้ จดบันทึกความรู้เพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆทุกคนแต่งกายได้เรียบร้อย ถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนโดยยกตัวอย่างให้เห็น ทำให้เข้าใจทฤษฏีที่ง่ายขึ้น
อาจารย์แต่งกายได้สุภาพเรียบร้อย สวยงาม
1 ความคิดเห็น:
มีวิธีสอนและการประยุกต์ใช้อีเรื่องจะดีมากนะคะ
แสดงความคิดเห็น