วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 23 กันยายน 2557
กิจกรรมวันนี้
วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงบล็อกของบ้างคนที่ยังไม่ได้ลงมือทำมาหลายอาทิตย์
คนที่ทำแล้วก็ควรปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์ให้ดีขึ้น
ควรใส่ภาษาอังกฤษเพิ่มเติมมากกว่านี้
Constuructivism คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการได้ลงมือปฏิบัติ
โดยมีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
** เพิ่มเติม ความหมายของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียน
หรือ นักเรียนมากกว่า ครู หรือ ผู้สอน ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ (interact)
กับ วัตถุ (object) หรือเหตุการณ์ ด้วยตัวของเขาเอง
ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในวัตถุ หรือ เหตุการณ์นั้น ซึ่งก็คือ การสร้าง (construct)
การทำความเข้าใจ (conceptualization) และ
การแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวของเขาเอง ได้มีผู้ให้ ทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ ไว้ ดังนี้
คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) เป็นปรัชญาของการเรียนรู้ที่มีรากฐานมาจากปรัชญาและจิตวิทยา
โดยมีแก่นของทฤษฎี ก็คือ
เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองและอย่างมีความหมายจากประสบการณ์ บุคคลสำคัญ
ในการพัฒนาทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ได้แก่ John Dewey Jean piaget Lev
Vygotsky Jerome Bruner ในมุมของ Constructivist การเรียนรู้
(Learning) หมายถึง
กระบวนการที่ผู้เรียนสร้างความรู้ขึ้นภายในอย่างมีความหมายโดยการตีความหมาย (interpretation)
แตกต่างกันตามประสบการณ์ของแต่ละคนมีอยู่
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างความรู้ (knowledge
Structure) ปรับแก้ (modification) ได้ตลอด
ความรู้ (knowledge) เกิดได้จากการแปลความหมายของความเป็นจริงในโลก
และเข้าไป representation ภายใน (Bednar,Cunnigham,
Dufft,Pertt, 1995)
*อาจารย์ได้แจกกระดาษ แล้วให้พับครึ่งวาดรูปที่มีความสัมพันธ์กันลงไป
อุปกรณ์
1.กระดาษแข็ง
2.ไม้เสียบลูกชิ้น
3.สี
4.กรรไกร
5.สก็อตเทป
วิธีทำ
1.พับกระดาษที่ครึ่งหนึ่ง
2.วาดรูปที่สัมพันธ์กันระหว่างครึ่งของกระดาษในหน้าเดียวกัน เช่น
ไก่กับไข่
3.ตกแต่งให้สวยงามตามความชอบ
4.พับกระดาษตามรอยตอนแรกนำไม้ลูกชิ้นไว้ตรงกลางกระดาษติดเทปให้แน่นตรงไม้
และติดเทปปิดข้างกระดาษให้ติดกัน
วิธีการเล่น
หมุนด้ามไม้ลูกชิ้นด้วยความเร็วก็จะเห็นว่าภาพทั้งสองภาพเกิดการเชื่อมต่อหากัน
เทคนิค
โดยมีเทคนิคการวาดรูป รูปจะต้องไม่ทับซ้อนกัน
ควรวาดให้อยู่คนละตำแหน่ง แต่ก็ต้องดูรูปที่เราวาดว่าควรอยู่ในตำแหน่งไหน
เพราะเวลาหมุนภาพออกมาจะได้สัมพันธ์กันและสวยงาม
**กิจกรรมนี้เด็กได้ลงมือทำผลงานเอง
และเด็กก็จะค้นพบข้อผิดพลาดต่างๆของภาพที่ไม่สอดคล้องกัน
เด็กก็จะเรียนรู้และแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
กิจกรรมต่อไปเป็นการทดลองกล้อง จากการได้ไปดูเรื่อง ความลับของแสง
อาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมว่าควรจัดกิจกรรมไหนก่อน
กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ
ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้
เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์
เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น
การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ
ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์
การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
3. กิจกรรมเสรี
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง
ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา
ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ
โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา
เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน
บทความ
1.สอนลูกเรื่องพืช
2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย
3.แนวทางสอนคิด เติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล
4.การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆสำหรับคุณหนูๆ
ศึกษาเพิ่มเติ่ม
-บิดาของการศึกษาปฐมวัย คือ เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล
ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย”
ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837
เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ
กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู
รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์
และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
-จอนห์น ดิวอี้ (John Dewey) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจด้วยตนเอง
ผู้สอน มีหน้าที่ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา “การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ(Learning
by doing)”
-โจฮันน์ ไฮน์ริค เปสตาลอซซี่ (Johann
Heinrich Pestalozzi)เชื่อว่าการศึกษาธรรมชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน
เปสตาลอซซี่มุ่งเน้น ความคิดของการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated
curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก อย่างเป็นองค์รวม
เปสตาลอซซี่กล่าวว่าการจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรรวมถึงการพัฒนาร่างกาย สติปัญญา
และจิตใจ
- ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau)
เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว
การให้การศึกษาแก่เด็กต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของเด็กก่อน
แนวการสอน
สอนให้ลงมือปฏิบัติจริง ในขณะที่ทำก็เกิดปัญหาต่างๆ
ก็ทำให้เกิดการแก้ปัญหา และนำกล้องพาราไดร์สโคป กล้องเปริสโคป มาให้ทดลองดู
ก็เกิดการเรียนรู้ต่างๆขึ้นจากการดูจริงและสัมผัส
ประเมินตนเอง
มีการเตรียมความพร้อมในการเรียนดี
ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์ได้ให้ความรู้ พยายามคิดหาคำตอบที่อาจารย์ถาม
ประเมินเพื่อน
ทุกคนแต่งกายเรียบร้อยดี มีความพร้อมสำหรับการเรียนในเช้านี้
ทุกคนให้ความสนใจต่อคำถามของอาจารย์ มีการช่วยกันตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง
ประเมินอาจารย์
มีการใช้สื่อมาสอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้นถึงเรื่องที่กำลังเรียนอยู่
และมีการขยายความของบทความมากขึ้นเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาที่เพื่อนพูดได้อย่างชัดเจน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น