บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 28 ตุลาคม 2557 
กิจกรรมวันนี้
อาจารย์เตรียมอุปกรณ์ต่างๆมาให้นักศึกษาทดลองวิทยาศาสตร์ โดยสิ่งที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
2.แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-เปลี่ยนแปลง
-แตกต่าง
-สมดุล
-การปรับตัว

กิจกรรมที่ 1 อุปกณ์ที่ใช้ เทียน ไม้ขีด ถ้วย แก้ว ครูจะจุดเทียนเอาเทียนวางที่ถ้วยเสร็จแล้วค่อยๆเอาแก้วครอบลงตรงเทียน


ผลการทดลอง ขณะที่ค่อยๆครอบแก้วลงนั่นเทียนจะค่อยๆดับลง
คำถาม ที่ใช้ถามเด็กจะได้ทักษะการสังเกต และรวบรวมข้อมูล
-เราจะทำการทดลองอะไรได้บ้าง
-ถ้าครูจุดเทียนจะเกิดอะไรขึ้น
-ถ้าเอาแก้วครอบจะเกิดอะไรขึ้น

กิจกรรมที่ 2 ครูแจกกระดาษให้นักเรียนพับและฉีกเป็นกลีบดอกไม้ และนำไปลอยน้ำ ดังนี้


วิธีการพับกระดาษ
1.นำกระดาษ A 4 ที่ครูแจกให้มาพับแบ่งครึ่งเป็น 4 ส่วน นำมาใช้ 1 ส่วน
2.พับกระดาษลงให้เป็น 2 ส่วน
3.พับกระดาษอีกรอบก็จะกลายเป็น 4 ส่วน
4.ฉีกกระดาษตามรูปให้โค้งๆเหมือนดอกไม้
5.จะได้กลีบดอกไม้ออกมา
6.พับกระดาษเข้าหากันเป็น 4 เหลี่ยม



การทดลอง นำการดาษที่พับมาลอยในอ่างน้ำ
ผลการทดลอง กระดาษที่เอาไปลอยน้ำนั่นจะค่อยๆบานออกทีละนิด การที่ดอกไม้บานออกก็เพราะน้ำเข้าไปซึมแทนที่กระดาษ และการที่กระดาษไม่บานออกก็เพราะรูปของการฉีกกระดาษ ความหนาของกระดาษ และการพับกระดาษที่แน่นเกินไป สาเหตุต่างๆเหล่านี้อาจทำให้กระดาษไม่บาน
คำถาม
-ถ้านำกระดาษมาลอยจะเกิดอะไรขึ้น
-ทำไมดอกไม้ถึงบานออก

กิจกรรมที่ 3 ขวดน้ำเจาะรูที่ก้นขวดน้ำ และข้างขวดนำน้ำใส่ขวด


ผลการทดลอง นำน้ำใส่ขวดที่เจาะรู น้ำก็จะไหลออกออกจากขวดน้ำ ถ้าปิดฝาน้ำก็จะหยุดไหล

กิจกรรมที่ 4 นำอุปกรณ์ที่อาจารย์เตรียมมาให้ เอาน้ำใส่ขวด


ผลการทดลอง พอเทน้ำใส่ขวดแต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่มีคนเสนอว่าให้เบาพอเบาน้ำก็ไหลออกแต่ไหลช้า พอเอาจานลงต่ำน้ำก็ไหลแรง พอยกจากไปวางระดับเดี่ยวกับขวดน้ำ น้ำก็ไหลช้าและเริ่มหยุดไหล

กิจกรรมที่ 5 ครูแบ่งดินน้ำมันให้ปั้นเป็นก้อนก่อนแล้วนำไปใส่อ่างน้ำที่เตรียมไว้ และให้เปลี่ยนรูปแบบการปั้นยังไงก็ได้ที่สามารถนำมาลอยน้ำแล้วไม่จม และสามารถวางลูกแก้วได้มากที่สุด


ผลการทดลอง ปั้นเป็นก้อนพอเอาไปใส่น้ำดินน้ำมันก็จม แต่พอเปลี่ยนรูปแบบการปั้นดินน้ำมันลอยแต่พอใส่ลูกแก้วลงไป 1 ลูกก็จมลง บางคนพอใส่ลูกแก้วได้ 1 ลูก แต่ไม่จม บางคนเปลี่ยนรูปแบบการปั้นก็ยังจมอยู่ดี

กิจกรรมทื่ 6 นำน้ำใส่แก้ว แล้วเอาปากกาใส่ลงไปในแก้ว


ผลการทดลอง ปากกาที่อยู่ในน้ำจะขยายใหญ่ขึ้น ส่วนที่ไม่อยู่ในน้ำจะมีขนาดเท่าเดิม และปากาจะการหักระหว่างผิวน้ำ

เทคนิคการสอน มีการใช้คำถามปลายเปิดให้ได้คิดหาคำตอบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะอะไร ทำไม
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายได้เรียบร้อย มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทดลองและสังเกต มีการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนและครู
ประเมินเพื่อน
เพื่อนมาเรียนช้าเป็นส่วนมาก กว่าจะมาก็ทำกิจกรรมไปได้นานแล้ว ขณะที่ทำกิจกรรมทุกคนก็ความให้ความสนใจในกิจกรรมที่ทำ มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์
 อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กที่เด็กต้องเรียนรู้ มีการใช้คำถามปลายเปิดให้เกิดกระบวนการคิดต่อยอดจากกิจกรรมที่ทำ

บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 21 ตุลาคม 2557 
กิจกรรมวันนี้
วันนี้ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ออกมานำเสนอ หลังจากนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ได้อธิบายการเขียนแผนของแต่ละหัวข้อ กลุ่มดิฉันทำเรื่องกบ  ( Frog )ทำหัวข้อต่อไปนี้
วันที่ 1 ชนิดของกบ (Kind)
วันที่ 2 ลักษณะของกบ (Quality)
วันที่ 3 ประโยชน์ของกบ (Benefit)
วันที่ 4 การเลี้ยงดู (life cycle)
วันที่ 5 วงจรชีวีตของกบ


เทคนิคการสอน
อาจารย์จะใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดหาเทคนิควิธีการสอนต่างๆ ถามจนกว่านักศึกษาจะเกิดความคิดที่ถูกต้องเชื่อมโยงกัน
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอของเล่น มีส่วนร่วมในการตอบคำถามกับอาจารย์
ประเมินเพื่อน
คนที่ไม่ได้นำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์แล้วมานำเสนออาทิตย์นี้มีการเตรียมตัวในการนำเสนอมาดี เพื่อนบ้างคนก็เสียงดังนั่งคุยกันขณะที่เพื่อนคนอื่นนำเสนองาน หรือขณะที่อาจารย์สอนแผนพูดคุยไม่ค่อยฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดี เข้าห้องมารอนักศึกษาก่อนเวลาเรียน ให้การแนะนำกับสื่อที่ทำมา มีการใช้คำถามที่เด็กจะต้องการเกิดคิด ทำให้เราคิดต่อว่ามันเกิดขึ้นหรือเป็นแบบนี้ได้อย่างไร เวลาสอนแผนจะสอนให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดที่เชื่อมโยงต่างๆ โดยที่อาจารย์จะไม่บอกจะพูดยกตัวอย่างให้นักศึกษาคิดหาคำตอบให้ได้ และมีการยกตัวอย่างแผนให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น

บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 14 ตุลาคม 2557 
กิจกรรมที่ทำ
วันนี้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอผลงานของตัวเองที่ทำมา คือของเล่นวิทยาศาสตร์
ผลงานที่ทำคือ ตุ๊กตาโยกเยก


 อุปกรณ์
1.กระป๋องพลาสติกทรงกลม
2.ดินน้ำมัน
3.เทปติดกระดาษ
4.กระดาษสี
5.อุปกรณ์ตกแต่ง
วิธีทำ
1.ให้นำดินน้ำมันติดลงไปในกระป๋องทรงกลม ถ่วงน้ำหนักไว้ตรงไหนก็ได้ แล้วติดเทปไว้
2.ตัดกระดาษสีให้เท่ากับขนาดกระป๋อง ปิดด้านหน้าด้านหลังเพื่อไม่ให้เห็นดินน้ำมัน
3.สามารถตกแต่งกระป๋องได้ตามใจชอบ
วิธีเล่น
หมุนตุ๊กตาไปมา ก็จะกลับมาด้านเดิม
เพิ่มเติม
การที่ตุ๊กตากลับมาที่เดิม ก็เพราะมันมีแรงถ่วงอยู่คือมีน้ำหนักมาก ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปและกลับมาที่เดิมได้
การสอน
การให้เด็กได้เห็นความแตกต่างและเกิดกระบวนการคิดกับของเล่นคือ การใช้ขนาดกระป๋องที่แตกต่างกัน หรือจะใช้ดินน้ำมันจำนวนที่ต่างกัน ก็จะทำให้เด็กเกิดการสังเกตุของตุ๊กตาว่าทำไม โยกแตกต่างกัน
ของเล่นวิทยาศาสตร์ของเพื่อน

เทคนิคการสอน
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาอธิบายว่าของเล่นที่เราทำมาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร เป็นการฝึกว่าถ้าเด็กถามเราว่ามันเป็นแบบนี้หรือเกิดขึ้นได้อย่างไร เราควรจะตอบเด็กได้อย่างมีเหตุผลของทางวิทยาศาสตร์ และการสอนเด็กควรให้เด็กทำของเล่นที่แตกต่างกันไป เช่น ขนาดของกระป๋อง จำนวนดินน้ำมัน เป็นต้น
ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา มีการเตรียมตัวในการนำเสนอของเล่นที่ทำมา และตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอของเล่น ทำให้ได้ไอเดียเพิ่มมากขึ้น
ประเมินเพื่อน
มีคนมาสายจำนวนหนึ่ง ทำให้ได้เช็คชื่อช้า การนำเสนอผลงานก็มีคนทำน่าสนใจแต่ก็จำนวนน้อย การทำของเล่นของเพื่อนบ้างคนเป็นการทำที่ดีมาก มีความน่าสนใจ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดี เข้าห้องมารอนักศึกษาก่อนเวลาเรียน ให้การแนะนำกับสื่อที่ทำมา มีการใช้คำถามที่เด็กจะต้องการเกิดคิด ทำให้เราคิดต่อว่ามันเกิดขึ้นหรือเป็นแบบนี้ได้อย่างไร

บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 7 ตุลาคม 2557 
 อยู่ระหว่างการสอบ