บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 30 กันยายน 2557
กิจกรรมที่ 1 กังหันกระดาษ

แถวที่ 1-2



แถวที่ 4-5

อุปกรณ์
1.กระดาษหน้าปก
2.คลิปหนีบกระดาษ
3.กรรไกร
วิธีทำ
1.ตัดกระดาษ ความยาว 14เซนติเมตร ความกว้าง 3.5 เซนติเมตร
2.พับกระดาษแบ่งครึ่ง แล้วตัดกระดาษเข้าหารอยตรงกลาง โดตตัดจากหัวกระดาษตรงกลาง (หรือตัดตามความต้องการ)
3.พับส่วนปลายอีกด้านเข้ามาสัก 1 เซนติเมตร ( หรือพับตามความต้องการ ) แล้วใส่คลิปหนีบกระดาษ
การทดลอง
อาจารย์ให้ออกมาทำอะไรก็ได้กับกระดาษ แต่ละคนจะออกมาโยนกระดาษที่แตกต่างกัน  การตัดกระดาษนั้นแถวที่ 1-2 ตัดเหมือนกัน แถวที่ 3-4 จะตัดกระดาษไม่ถึงตรงกลางรอยพับ
ผลการทดลอง
จากการทดลองการที่กระดาษตกลงพื้นไม่เหมือนกันนั้น ก็เพราะว่ามีการตัดกระดาษที่ไม่เท่ากัน การโดยก็ไม่เหมือนกัน
แถวที่ตัดกระดาษยาวจะมีการหมุนคล้ายลูกยาง แถวที่ตัดกระดาษน้อยจะไม่ค่อยหมุน จะตกลงพื้นเร็วกว่า ปัจจัยที่กังหันกระดาษมีการหมุนแตกต่างกัน ดังนี้ 
1.ลักษณะการโยน
2.การออกแรงโยน
3.สภาพอากาศ
4.การตัดกระดาษที่แตกต่างกัน
5.มีการพบปลายกระดาษด้านล่างที่ไม่เท่ากัน

กิจกรรมที่ 2

อุปกรณ์
1.แกนทิชชู
2.เชือก
3.กรรไกร
4.กระดาษ
5.กาว
6.สี
7.ที่เจาะรู ( ตุ๊ดตู่ )
วิธีทำ
1.ตัดครึ่งแกนทิชชู บีบแกนเจาะรูตรงกลางกระดาษ ทั้งสองฝั่ง
2.นำเชือกมาร้อยให้ได้ตามภาพ
3.ตัดกระดาษเป็นวงกลมขนาดแกนทิชชู วาดรูปตกแต่งให้สวยงาม และนำมาติด
การทดลอง
การทดลองนี้อาจารย์ให้ลองเล่นเองว่าทำยังไงจะให้กระดาษเลื่อนขึ้น เด็กก็จะเกิดการแก้ปัญหาว่าทำยังไงแกนทิชชูถึงจะเลื่อน บางคนก็ไม่ขึ้น บางคนก็เลื่อนขึ้นและก็ลง เกิดการทดลองที่แตกต่างกัน
*การที่แกนเลื่อนนั้นเกิดจากการเสียดสีระหว่างเชือกกับวัตถุ จึงเกิดแรงส่ง

บทความ
1.สกิตให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์  คลิกที่นี้ อ่านเพิ่มเติม
2.สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชา”ตามเด็กปฐมวัยเรียนรู้วิทย์จากไก่และเป็ด คลิกที่นี้ อ่านเพิ่มเติม
3.เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ให้สนุก 7 ประการ คลิกที่นี้ อ่านเพิ่มเติม
4.หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ คลิกที่นี้ อ่านเพิ่มเติม
5.ส่งเสริมกระบวนการคิดวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย คลิกที่นี้ อ่านเพิ่มเติม

เทคนิคการสอน
อาจารย์ให้เด็กได้คิดเองอย่างอิสระ ในการทดลองเอง และมีการลงมือปฏิบัติทำของทดลองด้วยตัวเอง เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า เด็กเกิดคำถาม เกิดการคิดต่างๆ และเกิดการแก้ปัญหาจากผลการทองลองที่ออกมาแตกต่างกัน การที่ครูปล่อยให้เด็กได้คิดเอง เด็กก็เกิดการค้นพบจากการทดลองต่างๆ ครูพยายามถามเด็กอยู่ตลอดเวลาขณะที่ทำกิจกรรม ครูจะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กเกิดการคิด เกิดทักษะกระบวนการและได้รู้จักหาเหตุผล
ประเมินตนเอง
มีความพร้อมในการเรียน มีการแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ มีการตอบคำถามถึงแม้จะตอบไม่ถูก
ประเมินเพื่อน
เพื่อนมาเรียนน้อย คนที่มาก็มีความพร้อมในการเรียนและการทำกิจกรรม แต่บางคนก็ไม่ค่อยฟังอาจารย์ว่าสั่งให้ทำอะไร การที่ไม่ฟังจึงทำให้งานที่อาจารย์บอกให้ทำออกมาผิด เสียเวลาในการทำกิจกรรมของเพื่อนคนอื่น
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการสอนดีมาก มีเทคนิคที่ดีในการสอน ให้นักศึกษารู้จักทดลองเอง อาจารย์อธิบายเนื้อหาต่างๆได้อย่างชัดเจน


วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

เรื่อง อากาศมหัศจรรย์
ลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่ได้ มนุษย์ สัตย์หรือพืชก็ต้องใช้อากาศหายใจ อากาศนั้นสามารถอยู่ได้ทุกที่
ตัวอย่างเช่น
- นำถ้วยแก้วมาหนึ่งใบเอากระดาษติดลงไปในถ้วยแก้วจนแน่ใจว่าถ้าเราคล่ำถ้วยกระดาษจะไม่หล่นลงมา นำถ้วยแก้วคล่ำลงในน้ำที่เตรียมไว้ แล้วยกถ้วยแก้วออกก็จะเห็นว่ากระดาษไม่เปียกน้ำเลย ก็เพราะระหว่างกระดาษกับน้ำนั้นจะต้องมีอะไรมากั้นตรงกลาง นั้นก็คืออากาศอากาศไม่มีขนาดหรือรูปร่างแต่อากาศจะซ่อนตัวอยู่ทุกที่
- การเทน้ำใส่ขวดโดยผ่านกรวยแล้วเทน้ำลงขวดก็จะเห็นว่าน้ำผ่านขวดได้เร็ว ต่อไปก็เอาดินน้ำมันมาติดที่ปากขวดให้แน่นๆ แล้วเทน้ำลงไปในขวดอีกทีจะเห็นว่าน้ำไหลลงไปในขวดช้ามาก จากการทดลองที่น้ำไหลลงไปในขวดได้เร็วก็เพราะว่าอากาศจากในขวดจะถูกน้ำเข้าไปแทนที่ทันทีเมื่อเราเทน้ำลงไป อากาศก็ออกทางปากขวด เมื่อเรานำดินน้ำมันมาปิดปากขวดไว้อากาศก็จะไม่สามารถออกมาได้จะค่อยดันน้ำไว้ไม่ให้ไหลลงมาขวด จากการทดลองทำให้เรารู้ว่าอากาศมีตัวตนจริงๆ
- การนำตาชั่งมาหนึ่งอันเอาลูกโป่งมาติดไว้ที่ปลายลูกโป่งข้างละหนึ่งลูกก็จะมีน้ำหนักเท่ากัน ปล่อยลมที่ลูกโป่งออกไม่มากหนึ่งลูก ก็จะเห็นว่าด้านที่ปล่อยลมออกลอยขึ้นไป ทำให้รู้ว่าข้างที่มีลมจะหนักกว่าข้างที่ไม่มีลม น้ำหนักที่ต่างกันนั้นเป็นน้ำหนักของอากาศ น้ำหนักของอากาศจะขึ้นอยู่กับความร้อนและความเย็นของอากาศ
- นำตาชั่งอันเดิมมาแขวนถ้วยกระดาษคล่ำไว้ทั้งสองข้าง จะเห็นว่าถ้วยกระดาษทั้งสองข้างมีน้ำหนักเท่ากัน นำเทียนไขมาจุดแล้วนำไปจ่อไว้ที่ถ้วยกระดาษก็จะเห็นว่าข้างที่จ่อด้วยเทียนจะลอยขึ้น ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าอากาศภายในถ้วยร้อนขึ้นและเมื่ออากาศร้อนขึ้น อากาศก็จะมีน้ำหนักเบาลง หลักการนี้เรามาใช้ในการผลิตบอลลูน โดยใต้ผ้าที่เราทำบอลลูนจะมีการจุดไฟ จนร้อนสามารถยกตัวบอลลูนขึ้นไปได้ ถ้าอยากให้ลอยสูงขึ้นก็เร่งไฟให้สูงกว่าเดิมเพื่ออากาศในตัวบอลลูนจะร้อนขึ้น จะได้พาบอลลูนสูงขึ้น
- นำขวดโหลเปล่ามาสองใบ หนึ่งขวดแช่น้ำร้อน อีกขวดแช่น้ำเย็นเอาไว้ จากนั้นนำขวดทั้งสองใบมาประกบปากขวดกันโดยให้ขวดที่แช่น้ำร้อนอยู่ข้างล่าง แช่น้ำเย็นอยู่ข้างบน นำกระดาษแข็งมาขั้นตรงกลางปากขวด แล้วนำขวดที่แช่น้ำร้อนนำธูปใส่ในปากขวดเพื่อให้ควันธูปเข้าไปอยู่ในขวด จากนั้นนำมาประกบกันเหมือนเดิม คอยๆดึงกระดาษแข็งออก ก็จะเห็นว่าควันธูปลอยจากขวดที่แช่น้ำร้อนไปยังขวดที่แช่น้ำเย็น ต่อไปทำกลับกันเอาธูปใส่ขวดที่เย็นแทน นำขวดที่แช่น้ำร้อนไว้ข้างบ่น จะเห็นว่าควันธูปที่อยู่ในขวดที่แช่น้ำเย็นไม่ลอยขึ้นไปในขวดที่แช่น้ำร้อน ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าอากาศจะพยายามปรับสมดุลตลอดเวลา อากาศร้อนที่เบากว่าก็จะพยายามร้อยขึ้นไปหาอากาศเย็นเพื่อลดความร้อนของตัวเอง ส่วนอากาศเย็นที่หนักกว่านั้นก็จะลอยต่ำลงมาสวนทางกับอากาศร้อนข้างล่าง เพื่อปรับสภาพอากาศให้กายเป็นอบอุ่น และการที่อากาศร้อนเย็นเคลื่อนที่ไปมาจึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ
- นำตู้กระจกใสมาหนึ่งใบ แล้วค่อยๆปล่อยควันธูปเข้าไปในตู้ จะเห็นว่ามีควันธูปที่ลอยขึ้นไปข้างบ่นและควันธูปที่ลอยเข้ามาแทนที่ควันธูปที่ลอยขึ้นไป ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าควันธูปที่ร้อนจะลอยขึ้นข่างบ่น เมื่อควันธูปเย็นลงก็จะลอยต่ำลง และควันธูปที่เย็นก็จะเคลื่อนตัวมาแทนที่ควันธูปที่ร้อนลอยขึ้นมาข้างบ่น อากาศเย็นที่เข้ามาแทนที่อากาศร้อนก็คือลมที่พัดผ่านไป และนี้ก็ทำให้เรารู้รู้สึกเย็นสบาย
บ่นพื้นโลกของเราจะมีลมพัดผ่านไปมาตลอดเวลา ก็เพราะบ่นพื้นโลกของเราแต่ละแห่งนั้นจะมีความร้อนไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ขณะที่เรายืนอยู่ริมทะเลตอนกลางวัน จะมีลมพัดเข้ามาจากทะเลตลอด ลมที่พัดเข้ามานั้นก็มีสาเหตุจากอากาศบ่นพื้นดินในตอนกลางวันร้อนกว่าผิวน้ำมาก ดังนั้นอากาศร้อนบ่นพื้นดินจึงลอยตัวสูง และอากาศเย็นจากผิวน้ำจึงพัดเข้ามาแทนที่
ตัวอย่างเช่น
-การเป่าลมให้ผ่านที่ด้านข้างของเทียนไขไฟก็จะไม่ดับ เพราะลมพัดไม่โดนไฟ แต่ถ้าเรานำกล่องมาตั้งขวางทางลมและเอียงไปทางเทียนไข แล้วเป่าดูใหม่ ก็จะเห็นว่าเทียนไขก็จะดับ แสดงว่าลมก็สามารถเปลี่ยนไปตามวัตถุที่ขวางทาง ซึ่งก็เป็นกรณีเดียวกับลมที่พัดมาจากข้างนอกพุ่งเข้าชนกับตัวบ้าน กระแสลมก็จะกระจายออก แล้วพุ่งผ่านข้างๆบ้าน แต่ถ้าบ้านมีหน้าต่าง กระแสลมก็จะพุ่งผ่านหน้าต่างเข้ามา
แรงดันของอากาศ คือ แรงที่อากาศกดลงพื้นผิวของวัตถุต่างๆ
- น้ำแก้วน้ำมาใส่น้ำจนเต็ม แล้วนำกระดาษมาปิดปากแก้วไว้ แล้วคว่ำแก้วลงก็จะเห็นว่าน้ำไม่หกลงมา ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะใช้หลักของแรงดันอากาศช่วย การที่เราเติมน้ำเข้าไปในแก้วจนเต็มเท่ากับเป็นการไล่อากาศที่อยู่ในแก้วจนหมด เวลาเรานำกระดาษแข็งไปปิดแล้วคว่ำลงแรงดันอากาศภายนอกที่จะมีมากกว่าแรงดันของน้ำจึงดันน้ำไว้ไม่ให้ไหลลงมา จนกว่ากระดาษแข็งแผ่นนั้นจะเปียกแล้วมีน้ำหนักมากขึ้น จนอากาศดันไว้ไม่ไหวน้ำในแก้วก็จะหกลงมาเอง
- การใช้อากาศในการยกหนังสือ นำลูกโป่งใบใหญ่สอดไว้ที่ใต้หนังสือที่เราจะยก จากนั้นก็เป่าลูกโป่ง ก็จะเห็นหนังสือค่อยๆถูกยกขึ้น การที่ลูกโป่งยกหนังสือได้ก็เพราะใช้หลักการแรงดันอากาศ เมื่อเราเป่าลมเข้าไปในลูกโป่ง ก็จะทำให้อากาศในลูกโป่งเพิ่มจำนวนขึ้น อากาศจึงทำให้ผิวลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้น แรงดันจึงทำให้หนังสือลอยขึ้นมา
การนำแรงดันอากาศมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเจาะรูกระป๋องนมจะต้องเจาะยังไงถึงจะมีนมไหลออกมา
ตัวอย่างเช่น
-นำน้ำที่ผนึกไว้สนิทสองใบ ใช้หลอดเจาะใบละหนึ่งรูก่อน แล้วเทน้ำใส่แก้ว น้ำไม่ไหลสักแก้วที่นี้ลองเจาะแก้งแรกอีกรูติดๆกัน แล้วเทน้ำอีกรอบน้ำก็ไม่ไหล ลองเจาะรูอีกแก้วที่ฝั่งตรงข้ามรูแรกแล้วลองเท น้ำก็จะไหลออกมา แต่ถ้าเราปิดรูด้านบ่นไว้น้ำก็จะหยุดไหล ที่เป็นแบบนนี้ก็เพราะเจาะรูไว้คนละที่ แก้วแรกเจาะรูติดกัน เมื่อเทน้ำไม่ออกก็เพราะอากาศภายนอกจะคอยดันน้ำไว้ของรูทั้งสองไม่ให้ไหลออกมาได้ อีกแก้วที่เจาะรูที่ฝั่งตรงข้าม แล้วน้ำไหนออกมาก็เพราะอากาศจะสามารถเข้าไปในแก้วทางรูด้านบ่นได้ แล้วไปดันน้ำในแก้วอีกที อากาศภายนอกจึงดันไว้ไม่อยู่น้ำเลยไหลออกมาได้ แต่พอเราปิดรูด้านบ่นไว้อากาศก็ไม่สามารถดันน้ำให้ไหลออกมาได้ น้ำจึงหยุดไหล
เพิ่มเติม ถ้าเราเจาะรูขนาดใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องเจาะรูสองรู เช่น กระป๋องน้ำอัดลม แล้วยังมีเรื่องของหลอดดูด และหลอดหยดน้ำที่ใช้คุณสมบัติของแรงดันอากาศมาช่วย เช่นหลอดหยดน้ำ ถ้าเราจุ่มหลอดลงไปในน้ำปิดปลายหลอดด้านบ่น ยกหลอดขึ้นมาน้ำก็จะอยู่ในหลอดก็จะถูกอากาศดันเข้ามาไว้ที่ปลายด้านล่างไม่ให้หยดลง แต่ถ้าเราเปิดนิ้วที่ปิดหลอดไว้ น้ำก็จะไหลออกมา เพราะมีอากาศเข้ามาที่ปลายหลอดด้านบ่น แล้วดันน้ำให้ไหลออกมา แล้วการดูดน้ำนั้นเมื่อเราออกแรงดูดน้ำขึ้นมา แรงดูดของเราก็จะเป็นการสูบอากาศขึ้นมาภายในหลอดเข้าไปก่อนทำให้อากาศภายในหลอดมีแรงดันลดลงตามปริมาณอากาศที่น้อยลงไปจากการดูด จากนั้นอากาศภายนอกหลอดจึงสามารถดันน้ำให้พุ่งเข้ามาตามหลอดได้ เมื่อเราดูดน้ำเข้าไปหมด น้ำก็จะถูกดันเข้าไปสู่ปากแทน และเมื่อเราออกแรงดูดต่อไป สิ่งที่เข้ามาในปากก็จะมีแต่น้ำ
อากาศร้อนหรือเย็นมีแรงดันอากาศมากกว่ากัน
-นำขวดปากแคบ และไข่ต้มที่ปอกเปลือกแล้วหนึ่งฟอง นำไข่ใส่ลงไปในขวดแต่ไม่สามารถใส่ได้ ลองจุดไฟลงไปในขวดแล้วเอาไข่วางไว้ข้างบ่น ไข่ก็ไหลเข้าในขวด ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าการที่จุดไฟใส่ลงไปขวดก็ทำให้อากาศในขวดร้อนขึ้น และอากาศที่ร้อนจะมีแรงดันต่ำมาก อากาศเย็นข้างนอกที่มีแรงดันสูงกว่าจึงพยายามดันเข้าไปแทนที่ และแรงดันของอากาศเย็นข้างนอกที่ดันให้ไข่สามารถตกลงไปในขวด
เพิ่มเติม นอกจากอากาศที่ร้อนจะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศเย็น อากาศที่เคลื่อนที่ก็จะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศที่อยู่นิ่งๆ เช่นมีลูกโป่งแขวนอยู่สองใบอยู่ห่างกันพอประมาณ ลองเป่าลมเข้าไปตรงกลาง ลูกโป่งก็จะเคลื่อนที่เข้ามากัน ก็เพราะการเคลื่อนที่ของอากาศผ่านระหว่างลูกโป่งทั้งสองลูก ในขณะที่เราเป่าลูกโป่งนั้นอากาศจะมีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และอากาศที่เคลื่อนที่นั้นจะมีแรงดันอากาศลดลง  ทำให้อากาศด้านข้างของลูกโป่งทั้งสองลูกที่อยู่นิ่งๆมีแรงดันมากกว่า จึงดันลูกโป่งให้เข้ามาชิดกัน
ประโยชน์ที่มนุษย์นำมาใช้ เช่นการสร้างปีกของเครื่องบิน
การทดลอง ถือกระดาษไว้แล้วเป๋าลมแรงๆของด้านบ่นกระดาษ แผ่นกระดาษค่อยๆยกตัวขึ้นมาก็จะคลายๆปีกเครื่องบิน ก็เพราะเวลาเราเป่ากระดาษด้านบ่น อากาศก็จะผ่านกระดาษด้านบ่นที่เราเป่าออกมา จะมีการเคลื่อนที่  อากาศที่เคลื่อนที่จะมีแรงดันน้อยลง ดังนั้นอากาศใต้แผ่นกระดาษที่อยู่นิ่งจะมีความดันสูงกว่า และสามารถยกแผ่นกระดาษที่ตกย้อยอยู่ จากหลักการนี้มนุษย์ออกแบบปีกเครื่องบินให้ด้านล่างแบน ส่วนด้านบ่นจะมีลักษณะโค้งลาดไปด้านหลังคล้ายๆกับแผ่นกระดาษที่ทดลองเป่า ซึ่งการออกแบบนี้เป็นการออกแบบที่ให้อากาศด้านบ่นปีกเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าอากาศใต้ปีกเครื่องบิน ดังนั้นเมื่ออากาศพุ่งผ่านปีกเครื่องบิน อากาศใต้ปีกเครื่องบินจะมีแรงดันมากกว่า และดันปีกเครื่องบินให้ยกสูงขึ้น เครื่องบินจึงบินขึ้นไปบ่นท้องฟ้าได้
เครื่องไอพ้นของเครื่องบินก็ใช้อากาศในการขับเคลื่อน
-ร้อยเส้นด้ายผ่านหลอดดูดน้ำ และสูบลมใส่ลูกโป่งนำไปติดกับหลอดด้วยเทป ก็จะเห็นลูกโป่งพุ่งไปตามเส้นเชือกที่เราผูกไว้ ที่เหมือนกับเครื่องไอพ้นเพราะใช้หลักเดียวกันคือปล่อยอากาศที่อัดไว้ออกมาข้างหลังเพื่อผลักตัวออกมาให้พุ่งไปข้างหน้า แบบเดียวที่เราปล่อยลมลูกโป่งให้พุ่งออกมาได้ แต่เครื่องไอพ้นจะดูดอากาศเข้ามาทางด้านหน้าของเครื่องตลอดแล้วถึงค่อยปล่อยอัดอากาศออกมาด้านหลังอีกที ดังนั้นเครื่องบินไอพ้นจึงบินได้ตลอดเวลา ไม่มีทางที่อากาศจะหมดไปได้
แรงต้านอากาศ คือ แรงที่อากาศต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ
เช่นเวลารถวิ่งก็จะมีลมพัดส่วนมา ก็คือลมที่อากาศกำลังต้านสวนมา ไม่ให้รถวิ่งไปข้างหน้า
-ลองทิ้งกระดาษสองแผ่นโดยให้แผ่นแรกเป็นกระดาษแบนๆ แผ่นที่สองเป็นกระดาษที่ขย่ำแล้วทิ้งกระดาษทั้งสองแผ่นลงพื้น กระดาษที่เป็นแผ่นแบนจะตกลงพื้นช้ากว่าแผ่นที่ถูกขย่ำ เป็นแบบนี้เพราะแรงต้านอากาศ ก็เหมือนกับแรงดันของอากาศ แต่แรงต้านของอากาศจะเกิดขึ้นตอนที่วัตถุเคลื่อนที่ยิ่งถ้าวัตถุมีพื้นผิวของพื้นที่น้อยเวลาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าก็จะมีแรงต้านจากอากาศน้อย แต่ถ้ามีพื้นผิวด้านหน้ากว้างเวลาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแรงต้านก็จะมีมากขึ้น
นอกจากจะใช้อากาศหายใจแล้วยังทำให้เกิดลมพัดเย็นสบาย แล้วยังนำคุณสมบัติของอากาศมาใช้เป็นหลักในการสร้างสิ่งต่างๆ


บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 23 กันยายน 2557
กิจกรรมวันนี้
วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงบล็อกของบ้างคนที่ยังไม่ได้ลงมือทำมาหลายอาทิตย์ คนที่ทำแล้วก็ควรปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์ให้ดีขึ้น ควรใส่ภาษาอังกฤษเพิ่มเติมมากกว่านี้
Constuructivism คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการได้ลงมือปฏิบัติ โดยมีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
** เพิ่มเติม  ความหมายของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียน หรือ นักเรียนมากกว่า ครู หรือ ผู้สอน ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ (interact) กับ วัตถุ (object) หรือเหตุการณ์ ด้วยตัวของเขาเอง ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในวัตถุ หรือ เหตุการณ์นั้น ซึ่งก็คือ การสร้าง (construct) การทำความเข้าใจ (conceptualization) และ การแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวของเขาเอง ได้มีผู้ให้ ทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ ไว้ ดังนี้
คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) เป็นปรัชญาของการเรียนรู้ที่มีรากฐานมาจากปรัชญาและจิตวิทยา โดยมีแก่นของทฤษฎี ก็คือ เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองและอย่างมีความหมายจากประสบการณ์ บุคคลสำคัญ ในการพัฒนาทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ได้แก่ John Dewey Jean piaget Lev Vygotsky Jerome Bruner ในมุมของ Constructivist การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง กระบวนการที่ผู้เรียนสร้างความรู้ขึ้นภายในอย่างมีความหมายโดยการตีความหมาย (interpretation) แตกต่างกันตามประสบการณ์ของแต่ละคนมีอยู่ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างความรู้ (knowledge Structure) ปรับแก้ (modification) ได้ตลอด ความรู้ (knowledge) เกิดได้จากการแปลความหมายของความเป็นจริงในโลก และเข้าไป representation ภายใน (Bednar,Cunnigham, Dufft,Pertt, 1995)
*อาจารย์ได้แจกกระดาษ แล้วให้พับครึ่งวาดรูปที่มีความสัมพันธ์กันลงไป
อุปกรณ์
1.กระดาษแข็ง
2.ไม้เสียบลูกชิ้น
3.สี
4.กรรไกร
5.สก็อตเทป


วิธีทำ
1.พับกระดาษที่ครึ่งหนึ่ง
2.วาดรูปที่สัมพันธ์กันระหว่างครึ่งของกระดาษในหน้าเดียวกัน เช่น ไก่กับไข่
3.ตกแต่งให้สวยงามตามความชอบ
4.พับกระดาษตามรอยตอนแรกนำไม้ลูกชิ้นไว้ตรงกลางกระดาษติดเทปให้แน่นตรงไม้ และติดเทปปิดข้างกระดาษให้ติดกัน
วิธีการเล่น
หมุนด้ามไม้ลูกชิ้นด้วยความเร็วก็จะเห็นว่าภาพทั้งสองภาพเกิดการเชื่อมต่อหากัน
เทคนิค
โดยมีเทคนิคการวาดรูป รูปจะต้องไม่ทับซ้อนกัน ควรวาดให้อยู่คนละตำแหน่ง แต่ก็ต้องดูรูปที่เราวาดว่าควรอยู่ในตำแหน่งไหน เพราะเวลาหมุนภาพออกมาจะได้สัมพันธ์กันและสวยงาม
**กิจกรรมนี้เด็กได้ลงมือทำผลงานเอง และเด็กก็จะค้นพบข้อผิดพลาดต่างๆของภาพที่ไม่สอดคล้องกัน เด็กก็จะเรียนรู้และแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง

กิจกรรมต่อไปเป็นการทดลองกล้อง จากการได้ไปดูเรื่อง ความลับของแสง


อาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมว่าควรจัดกิจกรรมไหนก่อน
กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้

5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน
บทความ
1.สอนลูกเรื่องพืช
2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย
3.แนวทางสอนคิด เติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล
4.การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆสำหรับคุณหนูๆ
ศึกษาเพิ่มเติ่ม
-บิดาของการศึกษาปฐมวัย คือ เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น บิดาการศึกษาปฐมวัยด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
-จอนห์น ดิวอี้ (John Dewey) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ผู้สอน มีหน้าที่ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ(Learning by doing)”
-โจฮันน์ ไฮน์ริค เปสตาลอซซี่ (Johann Heinrich Pestalozzi)เชื่อว่าการศึกษาธรรมชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน เปสตาลอซซี่มุ่งเน้น ความคิดของการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก อย่างเป็นองค์รวม เปสตาลอซซี่กล่าวว่าการจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรรวมถึงการพัฒนาร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ
- ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau)  เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว การให้การศึกษาแก่เด็กต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของเด็กก่อน
แนวการสอน
สอนให้ลงมือปฏิบัติจริง ในขณะที่ทำก็เกิดปัญหาต่างๆ ก็ทำให้เกิดการแก้ปัญหา และนำกล้องพาราไดร์สโคป กล้องเปริสโคป มาให้ทดลองดู ก็เกิดการเรียนรู้ต่างๆขึ้นจากการดูจริงและสัมผัส
ประเมินตนเอง
มีการเตรียมความพร้อมในการเรียนดี ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์ได้ให้ความรู้ พยายามคิดหาคำตอบที่อาจารย์ถาม
ประเมินเพื่อน
ทุกคนแต่งกายเรียบร้อยดี มีความพร้อมสำหรับการเรียนในเช้านี้ ทุกคนให้ความสนใจต่อคำถามของอาจารย์ มีการช่วยกันตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง
ประเมินอาจารย์
มีการใช้สื่อมาสอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้นถึงเรื่องที่กำลังเรียนอยู่  และมีการขยายความของบทความมากขึ้นเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาที่เพื่อนพูดได้อย่างชัดเจน


บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 16 กันยายน 2557
กิจกรรมวันนี้
อาจารย์ได้สร้างสถานการณ์ทำให้เกิดเสียงดัง วิเคราะห์ได้ว่า
-เกิดความวุ่นวาย
-คุยกันไม่รู้เรื่อง
การนำเสนอบทความวันนี้
1.การสอนปรากฏการธรรมชาติมีความสำคัญอย่างไร
-มีผลกระทบต่อชีวิต เราต้องหาวิธีแก้ไข และต้องตระหนัก
-ผลกระบทต่อสิ่งแวดล้อม ถึงเราจะห้ามให้เกิดไม่ได้ แต่เราสามารถฉลอได้ โดยเราต้องมีการปรับตัว และช่วยเหลือกัน
2.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-รู้จักใช้คำถามถามเด็ก
-เรียนรู้สิ่งต่างๆที่อยู่รบตัว
-ค้นหาความจริง
-แก้ไขปัญหา
-การสังเกต การจำแนก เรียงลำดับ การสื่อสาร


เรื่อง ความลับของแสง light
*แสงมีความสำคัญมาก ถ้าเราไม่มีแสงก็มองไม่เห็น แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนคลื่นน้ำในทะเล sea แสงเคลื่อนที่ 3000000 กิโลเมตร/วินาที ถ้าเราวิ่งรอบโลกด้วยความเร็ว 3000000 กิโลเมตร/วินาที เราจะวิ่งรอบโลกได้ 7 รอบเพียงเวลา 1 วินาที  second
*โลก World ของเรามีดวงอาทิตย์  sun  ที่ส่องแสงมาตลอดเวลา นอกจากแสงสว่างจะช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างแล้ว ยังมีประโยชน์อีกมาก
*แสงเดินทางเป็นเส้นตรง มีวัตถุบางชนิดที่แสงเดินทางผ่านทะลุไปได้ แสงมี 3 แบบ
2 แบบแรกแสงจะทะลุผ่านไปได้
แบบที่ 1 วัตถุโปร่งแสง( translucent ) แสงจะทะลุผ่านไปได้แค่บางส่วน เราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ข้างหลังวัตถุโปร่งแสงได้ไม่ชัดเจน เช่น กระจกฝ่า พลาสติกสีขุ่นๆ
แบบที่ 2 วัตถุโปร่งใส( transparent )  แสงทะลุผ่านไปได้ทั้งหมด เราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ข้างหลังได้ชัดเจน เช่น กระจกใส พลาสติกใส
แบบที่ 3 วัตถุทึบแสง จะดูดกลืนแสงที่เหลือไว้ และจะสะท้องแสงที่เหลือเข้าสู่ตาเรา เช่น ไม้ หิน เหล็ก หรือตัวเรา
*เครื่องฉายภาพนิ่ง กล้องรูเข็มPinhole camera การที่เห็นภาพกลับหัว ก็เพราะแสงส่วนบนของภาพวิ่งเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆมาตกกระทบด้านล่างของกระดาษไข stencil paper และแสงส่วนล่างของภาพวิ่งผ่านตรงรูเล็กๆมาตกกระทบที่ด้านบนของกระดาษ ภาพที่เห็นจึงเป็นภาพกลับหัว invert ถ้ามีรูที่ก้อกล่องหลายๆรู ก็จะเห็นภาพหลายภาพ
*ดวงตาของเรามีรูเล็กๆเหมือนกัน เราเรียกว่ารูรับแสง ภาพที่ผ่านรูรับแสงในตาเราก็เป็นภาพกลับหัวเหมือนกัน หลักการนี้ที่มีการทำกล้องถ่ายรูป camera และการที่เรามองเห็นได้ปกติไม่มองกลับหัวก็เพราะสมอง brain ของเราจะกลับภาพให้เป็นปกติอัตโนมัติ
*การสะท้อนแสง เช่นการส่องกระจก เงาในกระจกจะกลับข้างกับตัวเราเสมอ
*การนำการสะท้อนแสงมาเล่น นำกระจกเงามาวางและนำวัตถุมาวางจะเห็นเงาเกิดขึ้นแค่ 1 ภาพ นำกระจกมาวางอีก 1 บานมาวางเชื่อมกับกระจกอีกบาน วางมุม 90 องศา นำวัตถุมาวางตรงกลางระหว่างรอยเต่อ จะเห็นภาพเกิดขึ้นมาก ถ้าบีบกระจกให้แคบภาพก็จะเพิ่มมากขึ้น การที่เราเห็นภาพมากขึ้นนั้นก็เพราะมุมในการวางกระจก มุมที่ประกลบกันนั้นมีองศาแคบลงเท่าไหร่ภาพก็จะมากขึ้น กระจกทั้ง 2 บานต่างก็สะท้อนภาพไปมา ถ้าวางกระจกเงาให้ขนานกัน ก็จะเห็นภาพสะท้อนไปสะท้อนมา
*กล้องคาไลโดสโคป(Kaleidoscope) นำกระจกเงา 3 บานมาประกลบกันให้เป็นกระบอกทรงสามเหลี่ยม และเมื่อเราส่องก็จะเห็นภาพหลายๆภาพในกระจกสะท้อนออกมามาก มีหลักการสะท้อนแสงและมุมประลบของกระจก เมื่อแสงตกกระทบในกระบอกทรงสามเหลี่ยมมันก็สะท้อนไปสะท้อนมาในนั้น จึงทำให้เกิดภาพมากมาย
*หลักการสะท้อนแสงมาใช้ประโยชน์ในการหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูงๆได้ เราเรียกกล้องส่องภาพเหนือระดับสายตา หรือกล้องเพอริสโคป periscope โดยเราจะมองเห็นได้เพราะแสงจากวัตถุจะผ่านมาทางช่องบนที่เราเจาะไว้มากระทบบนกระจกเงาแผ่นบน แล้วสะท้อนกระจกเงาแผ่นล่างมาสู่ตาเรา ถ้าทำกล้องให้ยาวมากเท่าไหร่เราก็จะมองเห็นของที่อยู่สูงมากได้ วิธีนี้เรานำมาใช้ส่องวัตถุที่อยู่เหนือน้ำของเรือดำน้ำ submarine
*การหักเหของแสง แสงจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ การหักเหทำให้เห็นภาพที่หลอกตา แต่การหักเหก็มีประโยชน์คือการทำเลนส์ lens แผ่นแก้วหรือแผ่นกระจกที่ถูกทำให้แผ่นหน้าโค้งนูนออกมา เพื่อใช้ประโยชน์ในการขยายภาพและยังใช้รวมเส้นทางเดินของแสงได้และยังใช้จุดไฟ
*การหักเหของแสงนอกจากจะช่วยให้เรามองเห็นได้ชัดเจนแล้วยังทำให้มองเห็นวิวแสงและสีสวยๆ เช่นเวลาเราเห็นรุ้งกินน้ำบนท้องฟ้า รุ้งกินน้ำเกิดจากการหักเหของแสงเหมือนกัน แสงที่เราเห็นสีขาวๆนั้นประกอบด้วยสี 7 สี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง แม่สีทั้ง 7 เมื่อรวมกันจะกลายเป็นสีขาว เวลาฝนตกใหม่ๆจะมีละอองน้ำในอากาศและเมื่อแสงผ่านละอองน้ำเหล่านั้นก็จะเกิดการหักเหของแสง ปกติสีต่างๆในแสงจะมีความเร็วในการเคลื่อนที่ที่ไม่เท่ากัน เมื่อมันส่งผ่านละอองน้ำจำนวนมากในอากาศจึงเกิดการหักเหผลที่ตามมานั้นแสงขาวๆจะแยกตัวเป็นสีเดิมของมันทั้ง 7 สี ที่เราเรียกว่าแถบสเปกตรัม(Spectrum) หรือรุ้งกินน้ำ rainbow
*เราสามารถสร้างรุ้งกินน้ำได้เอง โดยการหันหลังตรงกันข้ามกับพระอาทิตย์และฉีดน้ำเป็นละอองน้ำในอากาศ  รุ้งกินน้ำจะเกิดตรงกันข้ามกับพระอาทิตย์ในเวลาฝนตกใหม่ๆและจะเกิดการหักเหของแสงผ่านละอองน้ำในอากาศ ซึ่งก็คลายๆกับการทดลอง แสงสีต่างๆเป็นตัวกลางสำคัญที่ทำให้เรามองเห็นวัตถุมีสีต่างๆกันเพราะวัตถุแต่ละชนิดต่างก็มีสีในตัวของมัน วัตถุแต่ละชนิดก็จะมีความสามารถในการสะท้อนแสงและการดูดกลืนแสงสีได้แตกต่างกัน เมื่อมีแสงมาตกกระทบวัตถุก็จะดูดกลืนแสงสีบางสีเอาไว้และสะท้อนแสงที่เป็นสีเดียวกันตรงกับวัตถุออกมา ทำให้เรามองเห็นเป็นสีต่างๆ
*เงากับแสงคู่กันเสมอ เงาเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับแสงและเงาก็เกิดขึ้นได้เพราะแสง เช่นการส่องไฟไปยังวัตถุที่เตรียมไว้ก็จะเกิดเงาดำๆขึ้นบนพื้นฝั่งตรงกันข้ามที่ส่องไฟ และลองส่องไฟสวนทางกับกระบอกแรก ก็จะเกิดเงาจางๆทั้งสองด้าน เงามีหลายแบบ คือเงาของวัตถุเกิดจากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรง เมื่อมีวัตถุเข้ามาขวางทางเดินของแสงไว้ พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุก็จะดูดกลืนและสะท้อนแสงบ้างส่วนออกมา แต่พื้นที่ด้านหลังของวัตถุ แสงส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการสะท้อนแสงเกิดขึ้น จึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำ ที่เรียกว่าเงา ถ้าเราฉายและแสงลงไปวัตถุหลายๆทางก็จะทำให้เกิดเงาของวัตถุขึ้นหลายๆด้าน
*เงา shadow จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีวัตถุมาขวางทางเดินของแสง

ประเมินตนเอง
คุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่องเพราะอาจารย์ได้สร้างสถานการณ์ขึ้นมา เพื่อให้เราคิดวิเคาระห์ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อไม่ฟัง หรือคุยกันไม่รู้เรื่อง วุ่นวายมากในห้องวันนี้ แต่พออาจารย์ได้อธิบายก็เข้าใจ การนำเสนอบทความวันนี้ก็มีการสรุปมาบ้างเลยทำให้เข้าใจมากขึ้น และวันนี้ได้รีบทำงานตามที่อาจารย์สั่งเป็นกลุ่ม

ประเมินเพื่อน 
วันนี้ในห้องเสียงดัง เกิดความวุ่นวาย เพราะแต่ละคนเห็นอาจารย์ไม่ว่าอะไรเลยวุ่นวาย สุดท้ายก็รู้ว่าคือสถานการณ์จำลองให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ทุกคนในห้องก็ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายงานดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเองในการทำงานเป็นกลุ่ม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีแนวทางการสอนและให้นักศึกษาคิดที่แปลกใหม่ รู้จักการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้เกิดเรื่องราวต่างๆและนำมาสอนให้เกิดการคิด