บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 26  สิงหาคม 2557
กิจกรรมวันนี้
คำถามแรกที่อาจารย์ใช้สอนนักศึกษาเพื่อให้เกิดการกระตุ้นความคิด คือ เมื่อเราพูดถึงเด็กปฐมวัยเราคิดถึงอะไร
1.ประสบการณ์
2.การเล่น
3.การต่อบล็อก
4.ความอยากรู้อยากเห็น
5.การอบรมเลี้ยงดู
6.ความขี้สงสัย
7.เรียนรู้ผ่านการเล่น
8.การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
9.การลองผิดลองถูก
10.ความสนุกสนาน
11.เรียนรู้ผ่านการสัมผัส
12.การเจริญเติบโต
13.การเรียนรู้
14.พฤติกรรมของเด็ก
การกล้าแสดงออกทำให้เด็กเกิดความคล่องแคล่ว เกิดความคิดสร้างสรรค์
1.พฤติกรรม = พัฒนาการ
2.การเรียนรู้ หรือการเล่น
3.การอบรมเลี้ยงดู
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา ภาษา แบ่งได้ดังนี้
1.ความคิด
1.1เชิงเหตุผล
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
1.2เชิงสร้างสรรค์
2.การใช้ภาษา
พัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
ขั้นที่ 1 การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง การรับรู้ การซึมซับ
การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
รับรู้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เรียนรู้ คือการมีชีวิตรอดในสังคม
ขั้นที่ 2 วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ คือการเล่น
การเล่นคือ การที่เด็กลงมือทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ที่สำคัญคือเด็กได้มีโอกาสเลือกด้วยตัวเอง
การจัดการเรียนการสอน การออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้
*นิยามความหมายของเด็กปฐมวัย คือเด็กที่มีอายุแรกเกิด-5 ปี หรือ 11 เดือน 29 วัน
*การเลือกเรื่องที่จะนำมาสอนเด็ก
1.เรื่องที่เด็กให้ความสนใจ
2.เรื่องใกล้ตัวเด็ก
3.เรื่องที่มีผลกระทบกับตัวเด็ก
วิทยาศาสตร์
-คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
-ความพยายามเช่นนี้ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
-การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง โดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น
ทบทวนบทบาท
-เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม
-ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
-จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
-ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวันนี้
-ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก


  การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำวิธีการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ โดยการบรรยายและใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการคิดและการเรียนรู้
ประเมินตนเอง  
-ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายแนวการสอน และคิดคำตอบในสิ่งที่อาจารย์ถามเพื่อให้เราคิด
-แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ หน้าตาสดชื่น
ประเมินเพื่อน  
-เพื่อนสนใจอาจารย์อธิบายแนวการสอนดี  มีการตอบคำถามร่วมกับอาจารย์เป็นบ้างคน
-ยังแต่งกายไม่ถูกระเบียบ แต่ส่วนมากจะถูกระเบียบ
-หน้าตาสนชื่นแจ่มใส
 ประเมินอาจารย์  
-อาจารย์มีเทคนิคการสอนโดยการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาต่อยอดความคิด
-แต่งกายสวยงามและเหมาะสม  หน้าตาสดชื่นยิ้มแย้ม

บันทึกกิจกรรมครั้งที่ 1

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 19 สิงหาคม 2557
กิจกรรมวันนี้
1.อาจารย์ได้แจกแนวการสอนของวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอธิบายแนวการสอน ดังนี้
คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎี และหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การออกแบบ และวางแผนกิจกรรมการบูรณาการประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การผลิตสื่อวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย การใช้คำถามพัฒนาการคิด การใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
ผลลัพธ์การเรียนรู้
1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1.1มีความซื่อสัตย์ สุจริต และเสียสละ
1.2มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.3เคารพสิทธิ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.4เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆของสาขาวิชา คณะฯ และมหาวิทยาลัย
1.5มีสัมมาคารวะให้ความเคารพต่อครู อาจารย์ และผู้อาวุโส
1.6ปฏิบัติสอดคล้องกับจรรยาบรรณครูปฐมวัย
2.ด้านความรู้
2.1อธิบายหลักการ ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้
2.2วิเคราะห์และเลือกจิตวิทยาการเรียนรู้ที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
2.3อธิบายสาระการเรียนรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
2.4วิเคราะห์และเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
2.5ออกแบบและเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
2.6วิเคราะห์และเลือกสื่อ อุปกรณ์ ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อม ( มุมประสบการณ์ ) ได้อย่างเหมาะสม
2.7วางแผนและประเมินการเรียนรู้สาระและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
2.8อธิบายบทบาทของครูและออกแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์
3.ด้านทักษะปัญญา
3.1คิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
3.2ประยุกต์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและวางแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างสร้างสรรค์
3.3ประเมินปัญหาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยและสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการสนับสนุนหรืออ้างอิงนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ
3.4สรุปองค์ความรู้จากปัญหาและความต้องการนำไปพัฒนาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
4.ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร และนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4.2ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และแก้ไขเมื่อพบปัญหา
4.3แสดงบทบาทผู้นำ และผู้ร่วมทีมทำงานได้อย่างเหมาะสม
4.4รับผิดชอบในผลงานของตนเองและกลุ่ม
4.5แสดงความคิดเห็นหรือประเด็นเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขผลงานทั้งของตนเองและกลุ่มได้
4.6พัฒนาองค์ความรู้จากการทดลองและการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่สร้างเครือข่ายไว้ได้
5.ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในปัจจุบันเพื่อการศึกษาค้นคว้า และเรียนรู้ประสบการณ์ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
5.2สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อมานำเสนอได้อย่างเหมาะสม
5.3สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น การนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
6.ด้านการจัดการเรียนรู้
6.1วางแผน ออกแบบ ปฏิบัติการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
6.2เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เช่น การศึกษากรณีตัวอย่างจากห้องเรียน การสังเกตการณ์สอนแบบต่างๆ การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน การสัมภาษณ์หรือพูดคุยกับผู้มีประสบการณ์ การทำแผนการสอน การผลิตสื่อประกอบการสอน การทดลองสอนและการจัดแหล่งประสบการณ์เรียนรู้ให้กับเด็ก  

2.ตั้งกฎกติกาในการมาเรียน
-ไม่เข้าเรียนสาย
-แต่งกายให้เรียบร้อยตามกฎของมหาวิทยาลัย
-ไม่พูดคำหยาบในห้องเรียน

**อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดในการทำบล็อก ว่าควรใส่อะไร รู้จักดัดแปลงนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์
-ชื่อวิชา
-รายละเอียดวิชา
-นาฬิกา ปฏิทิน
-ข้อมูลของเรา
-เพื่อน
-หน่วยงานที่สนับสนุน
-แหล่งเรียนรู้
-วิจัยวิทยาศาสตร์
-สถิติการเข้าดู
-บทความ
-สื่อ ( เพลง นิทาน เกม )



 การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำวิธีการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ โดยการบรรยายและใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการคิดและการเรียนรู้
ประเมินตนเอง  
-ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายแนวการสอน และคิดคำตอบในสิ่งที่อาจารย์ถามเพื่อให้เราคิด
-แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ หน้าตาสดชื่น
ประเมินเพื่อน  
-เพื่อนสนใจอาจารย์อธิบายแนวการสอนดี  มีการตอบคำถามร่วมกับอาจารย์เป็นบ้างคน
-ยังแต่งกายไม่ถูกระเบียบ แต่ส่วนมากจะถูกระเบียบ
-หน้าตาสนชื่นแจ่มใส
 ประเมินอาจารย์  
-อาจารย์มีเทคนิคการสอนโดยการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาต่อยอดความคิด
-แต่งกายสวยงามและเหมาะสม  หน้าตาสดชื่นยิ้มแย้ม